จากฝ้ายกลายเป็นเส้น -เส้นฝ้าย การผลิตเส้นใยฝ้าย

 จากฝ้ายกลายเป็นเส้น -เส้นฝ้าย การผลิตเส้นใยฝ้าย

 ฝ้าย (Cotton) คือ เส้นใยเก่าแก่และมีมาช้านานตั้งแต่สมัยโบราณ อารยะธรรมเริ่มแรก ของมนุษย์ ชนิดหนึ่งซึ่งใช้ ในการทอผ้า  โดยมีหลักฐานทางโบราณคดีที่บ่งบอกให้รู้ว่ามีการเพราะปลูกฝ้าย  และการปั่นฝ้ายเป็นเส้นด้าย   คือ การขุดพบซากฝ้าย  อายุประมาณ 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ที่  โมฮันโจ ดาโร (Mohenjo daro) บริเวณสถานที่แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ในดินแดนประเทศปากีสถาน ในปัจจุบัน

ใยฝ้าย ได้มาจากส่วนที่ห่อหุ้มเมล็ดของต้นฝ้าย  หรือที่เราเรียกว่า  ปุยฝ้าย   มีลักษณะเป็นเส้น เล็กๆ  ลักษณะของฝ้ายมีคุณสมบัติ เนื้อนุ่ม โปร่งเบา  สามารถระบายอากาศได้ดี    ฝ้าย  จึงเหมาะกับสภาพอากาศในฤดูร้อนหรือร้อนชื้น    การใช้ฝ้ายมาใช้งานทำได้โดยนำฝ้ายมาปั่นเป็นเส้นด้าย แล้วนำมาท่อเป็นผืนผ้า และตัดเย็บ เป็นเครื่องนุ่งห่ม เช่น ถุงผ้า,กระเป๋าผ้า, เสื้อยืด  ปอกหมอน เครื่องนุ่งห่มต่างๆ

 เส้นใยฝ้าย  

ฝ้าย เป็นไม้พุ่ม อยู่ในตระกูล  Goosypium วงศ์ Malvaceae เรานำปุยมาปั่นเป็นผืนผ้าได้  และเมล็ดฝ้าย  สกัดทำน้ำมันได้ ต้นฝ้ายเป็นพืชที่ทนทานต่อความแห้งแล้งขึ้นมากในภูมิภาคที่อากาศร้อน

คำว่า ฝ้าย หรือ cotton มาจากภาษาอาหรับว่า qutun หลักฐานทางโบราณคดีที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับฝ้ายคือผ้าฝ้ายอายุประมาณ  5000 ปีก่อนคริสตกาล พบที่ประเทศเม็กซิโก ส่วนในทวีปเอเชียนั้น พบหลักฐานอายุประมาณ  3000 ปีก่อนคริสตกาลที่บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศปากีสถาน  ในประเทศไทยพบหลักฐานทางโบราณคดีเป็นแวดินเผาที่ใช้ปั่นฝ้ายสมัยก่อนประวัติศาสตร์อายุประมาณ  3000 ปี ที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

พันธุ์ฝ้ายพื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไปในประเทศไทยแยกตามสีของปุยฝ้ายออกเป็น  2  ชนิด คือ พันธุ์สีตุ่น ปุยฝ้ายมีสีตุ่นคือสีน้ำตาลอ่อน ๆและพันธุ์สีขาวมีปุยฝ้ายสีขาวฤดูกาลปลูกฝ้ายในประเทศไทย คือประมาณช่วงเดือนพฤษภาคม เพื่อให้ต้นฝ้ายได้รับน้ำฝนในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมได้เต็มที่ในฤดูฝน  เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวฝ้ายจะแก่และแตกปุยราวเดือนพฤศจิกายนหรือเดือนธันวาคม  ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมเพราะอากาศในฤดูหนาวจะแห้ง มีความชื้นน้อย ช่วยให้ปุยฝ้ายแห้งดีขึ้น ปุยฝ้ายที่นำมาทำเส้นใยนี้เป็นพัฒนาการขั้นสุดท้ายจากดอกฝ้าย เมื่อดอกฝ้ายผสมเกสรแล้วเติบโตเป็นลูกฝ้ายหรือเรียกกันทั่วไปว่า  สมอฝ้าย  เมื่อต้นฝ้ายแก่เต็มที่ สมอฝ้ายจะแตกออกเป็น ปุยฝ้าย เก็บปุยฝ้ายมาปั่นเป็นเส้นใยฝ้าย กลุ่มวัฒนธรรมที่นิยมใช้เส้นใยฝ้ายทอผ้ามักปลูกฝ้ายเองและปั่นเส้นใยมาทอผ้าเพื่อเป็นทั้งเครื่องนุ่งห่ม  เคหะสิ่งทอ และสิ่งทอในพระพุทธศาสนา  กลุ่มชนเหล่านี้ ได้แก่  ไทยวน  ไทลื้อ  และ ไทพวนในภาคเหนือ  ไทครั่งและไททรงดำใน ภาคกลาง ภูไทหรือผู้ไทย ไทญ้อ และไทโส้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นต้น

 

การผลิตเส้นใยฝ้าย

กระบวนการผลิตและอุปกรณ์ในการผลิตเส้นใยฝ้ายนั้นเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมายาวนาน พัฒนาจนเหมาะสมกับวิถีชีวิตคนไทยในสังคมเกษตรกรรม การผลิตเส้นใยฝ้าย
มีกระบวนการตามลำดับ  ดังนี้


การเก็บรักษาปุยฝ้าย
เมื่อสมอฝ้ายแก่แตกเป็นปุยและแห้งเต็มที่ในช่วงฤดูหนาว ชาวบ้านจะช่วยกันเก็บใส่ ถุงย่าม ตะกร้า หรือ กระบุง คัดเลือกเฉพาะปุยฝ้ายที่แก่เต็มที่ ดึงปุยฝ้ายออกจากกลีบสมอ
ระวังไม่ให้เศษใบไม้ติดปนมาด้วย  โดยคัดเลือกเก็บปุยฝ้ายที่สะอาด ไม่ชื้นหรือมีเชื้อรา  มิฉะนั้นปุยฝ้ายจะเสียหายทั้งกระบุง  ต่อจากนั้นจะนำปุยฝ้ายมาเทใส่กระด้ง  เพี่อตรวจ
คัดเศษใบไม้หรือกลีบสมอที่หักร่วงปนมากับปุยฝ้ายออก  ให้เหลือแต่ปุยฝ้ายที่สะอาด

การตากปุยฝ้าย
เพื่อให้ปุยฝ้ายแห้งสนิทและป้องกันเชื้อราจึงต้องตากปุยฝ้าย  โดยใส่ปุยฝ้ายในกระด้งขนาดใหญ่เกลี่ยให้พอเหมาะ  ไม่ซ้อนทับกันหนาจนแสงแดดส่องไม่ทั่วถึง  จะต้องหมั่นพลิก
ปุยฝ้ายเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ถูกแดดทั่วถึงกันจนแห้งสนิทดีและฟู

การคัดแยกเมล็ดออกจากปุยฝ้าย
ปุยฝ้ายที่สะอาดและแห้งสนิทดีนั้น  ยังมีเมล็ดฝ้ายอยู่ข้างในจึงต้องคัดแยกเมล็ดออกจากปุยฝ้าย  โดยใช้เครื่องมือที่เรียกตามภาษาถิ่นว่า   อีดฝ้าย   อิ้วฝ้าย  หรือ หีบฝ้าย

เครื่องมือนี้ทำจากไม้เนื้อแข็ง  โดยมีโครงสร้างประกอบด้วยส่วนฐานเป็นแผ่นไม้กระดานหนาพอประมาณต่อกันคล้ายรูปอักษร  T ในภาษาอังกฤษ  ในส่วนหัวของอักษร T จะมีหลักไม้ทรงสี่เหลี่ยม  หลักไม้นี้ในบางท้องถิ่นอาจแกะสลัก ตกแต่งสวยงามเป็นยอดแหลมหรืออาจเป็นยอดมนเกลี้ยงเรียบ ๆ หลักไม้สูงประมาณ  14-16 นิ้วเท่ากันทั้งสองด้านเพื่อเป็นหลักของฟันเฟือง  ซึ่งเป็นไม้  2  ท่อนขนานกัน ส่วนด้านซ้ายทำเป็นเกลียวฟันเฟืองด้วยการบากไม้ให้เป็นร่องสัมพันธ์กัน ใช้ไขมันสัตว์  เช่น  ไขมันวัว  ไขมันควาย เป็นน้ำมันหล่อลื่น  ส่วนช่วงตรงกลางระหว่างหลักนั้นเป็นไม้ทรงกลมเกลี้ยงขนานชิดกัน  ไม้ฟันเฟืองนี้ส่วนด้านขวามือจะยาวไม่เท่ากัน  ท่อนบนจะสั้นกว่าส่วนท่อนล่างจะยาวกว่า 
และต่อไม้เป้นที่จับหมุนเพื่อให้ฟันเฟืองหมุนเคลื่อนไป 

ผลิตภัณที่ได้จากฝ้าย มีมากมาย เช่น ถุงผ้า ,กระเป๋าผ้า

 ที่มา : พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร

 งาน "ถุงผ้า,กระเป๋าผ้า"  สั่งผลิตสินค้าคลิ๊ก   www.shirtandbag-product.com

ส่งรายละเอียดงาน "ถุงผ้า, กระเป๋าผ้า" ได้ที่ E-mail:shirtandbags@gmail.com

 

Visitors: 597,070