ผ้าต่างๆ ชนิดของผ้า แบ่งตามประเภท

         ผ้า (Fabric)  หมายถึง วัสดุชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นแผ่น  และผ่านกระบวนการผลิตจากเส้นใย  ธรรมชาติ หรือสังเคาระห์  จนได้เป็นเส้นด้ายและผ่านกรรมวิธีผลิตจนได้เป็นผืนผ้า

         ประเภทของผ้าแบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้

          ประเภท ผ้าทอ    กรรมวิธีการนำเส้นด้ายมาขัดกัน  มีเส้นใยด้ายดังนี้   เส้นด้ายยืน (warp yarn) กับ เส้นด้ายพุ่ง (weft yarn)

          ประเภท ผ้าถัก    (Knitted fabric)การนำเส้นด้ายต่อกันเป็นห่วง  (interlock loops) มีเส้นใยด้ายดังนี้   คือ เส้นด้ายแนวตั้ง (Wales) และ เส้นด้ายแนวนอน (Course)

          ถ้าเราแบ่งเป็นชนิดนั้นจะแบ่งได้ 3 ชนิด ดังต่อไปนี้

   1.  เส้นใยที่ทำจากธรรมชาติ100%  (Natural fiber) และแบ่งได้เป็นประเภทดังต่อไปนี้

        เส้นใยไหม (Silk)    ใยไหมมาจากโปรตีนของรังไหม  แล้วนำมาปั่นจนได้เป็นเส้นด้าย   นำมาทอ หรือถัก  ได้เป็นผืนผ้า คุณสมบัติของผ้าไหมนั้น  มีความนุ่มมือ  เงางามจับตา   ไม่ยับง่าย หรือไม่ยับเลย  คงสภาพของผ้าได้ดีทีเดียว   ดูดความชื้นได้ดีพอสมควร  และ สามารถปรับตัวได้ในอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง    ใส่สบายมาก   ฤดูหนาวก็ใส่แล้อบอุ่น สามารถติดไฟได้  เวลาไหม้ผ้าจะหด และไหม้เป็นขี้เถ้า  ต้องซักด้วยสบู่ที่มีฤทธิ์อ่อนเท่านั้น  เพราะผงซักฟอกที่มีกรดแรงจะทำลายเนื้อผ้า   ก่อนรีดต้องนำผ้าฝ้าย มารอง

          เส้นใยลินิน (Linen)    ผลิตจากเส้นใยของต้น flax แล้วนำมาปั่น จนได้เป็นเส้นด้าย   จากนั้นจึงมาทอ หรือ การถัก ได้เป็น ผืนผ้า ลินิน นั้นเส้นใยธรรมชาติที่มีความคงทน และความแข็งแรงที่สุด   โดยที่คุณสมบัติของผ้าลินิน  นั้นจะ ยับง่าย   ซักได้  สามารถ รีดได้ที่อุณหภูมิสูงลักษณะของจะมี ความมันเงาสวยงาม    ผิวเรียบแข็ง   และดูดซึมน้ำได้ติดไฟได้     เวลาไหม้จะเหมือนกระดาษ เวลาพับผ้าลินินต้องใช้การม้วนเท่านั้น เพราะถ้าพับเส้นด้ายอาจหัก เสียทรงได้

       เส้นใยฝ้าย (Cotton)   ได้มาจากการนำ เส้นใยของปุยฝ้ายนำมาปั่นจนเกิดเป็นเส้นด้าย  แล้วจึงนำมาทอ  หรือถัก ได้เป็นผืนผ้า คุณสมบัติของผ้าฝ้าย หรือ ผ้า Cotton นั้นจะ ยับง่าย รีดยาก  หด ย้วย  แต่บางเบาหากผลิตเป็นเครื่องนุ่งห่ม จะใส่สบาย   แต่ปัจจุบันมีกระบวนการในการผลิตเส้นด้ายที่มีประสิทธิภาพ   ทำให้คุณภาพของฝ้ายดีขึ้น จึงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย

     สามารถซักได้ด้วยเครื่อง หรือมือ   รีดได้ในอุณหภูมิที่สูงได้ ไม่ไหม้หรือเกิดอาการหดตัว   สามารถขึ้นราได้ง่าย เนื่องจากเป็นใยฝ้าย   ติดไฟได้ ไม่มียางเหนียว   เวลาไหม้ลักษณะจะเหมือนกระดาษไหม้ เป็นขี้เถ้า   

    

        เส้นใยขนสัตว์ (Wool) ผ้าขนสัตว์ คือการนำขนสัตว์นำมาปั่นจนเกิด เป็นเส้นด้าย แล้วจึงมาทอ หรือถักเป็นผืนผ้าขนสัตว์ที่นิยมมาใช้ทำเป็นผ้าที่สุด คือขนแกะ คุณสมบัติของขนสัตว์ ขนสัตว์นั้นดูดความร้อน และถ่ายเทความชื้นได้ดี เวลาสวมใส่จึงให้ความอบอุ่นได้ดี และไม่เหนอะหนะร่างกายเวลาสวมใส่ หดตัวมากเวลาเปียก จึงควรซักแห้งเท่านั้น หลังจากซักแห้งควรเก็บใส่ถุงพลาสติก เพื่อป้องกันมอด

    2. เส้นใยสังเคราะห์จากสารเคมี (Chemical Synthetic fiber)

         สแปนเด็กซ์ (Spandex) เป็นผ้าที่มีความยืดหยุ่นสูง เป็นผ้าเส้นใยสังเคาระห์นิยมนำมาผลิตเสื้อผ้าที่ต้องการความยืดหยุ่น เช่น ชุดชั้นใน มาทดแทนยางธรรมชาติที่อายุการใช้งานใช้ไม่ได้นานนัก

       ไนลอน (Nylon) ไนลอน ได้มาจากกระบวนการรวมตัวของปิโตรเคมี   จำพวก  เบนซิน ฟีนอล ไฮโดรเจน แอมโมเนีย และมาผ่านกรรมวิธีทางเคมี  และผลิตเป็นเส้ยด้ายด้วยการถักหรือทอ คุณลักษณะของผ้าไนลอนนั้น    มีความทนทาน มาก  รูปร่างของผ้าทรงตัวไก้ดี  สามารถซักผงซักฟอกได้ ทนต่อเชื้อราและแมลง ทนต่อการขัดสี  แต่เวลาใส่ไม่ค่อยสบายตัวนัก มักผลิตขึ้นมาใช้เป็นเสื้อผ้าที่มีราคาไม่สูง 

      โพลีเอสเตอร์ (Polyester ได้มาจากกระบวนการรวมตัว จำพวก ปิโตรเคมี  จำพวกเอทานอล    ผ่านกรรมวิธีทางเคมี  ได้เป็นเส้นด้าย  แล้วผ่านกระบวนการถักหรือทอ  แล้วได้เป็นผืนผ้า   เป็นเส้นใยที่ผลิตขขึ้นมาเพื่อให้มีคุณสมบัติคล้ายฝ้าย   ลักษณะ เป็นเส้นใยยาวนุ่ม เงามัน ดูดความชื้นได้น้อย   ผ้ามีความเบาบาง  ยับยาก จับจีบได้  แต่เมื่อใส่ไประยะนานผ้าจะเกิดขุยได้

        3. เส้นใยสังเคราะห์จากวัสดุธรรมชาติ (Natural Synthetic fiber)

      เรยอน (Rayon)    ได้มาจากการนำเปลือกไม้ในธรรมชาติ   ผ่านกรรมวิธี ทางเคมี  ได้เป็นเส้นด้าย  และผ่านกรรมวิธี ด้วยการถักหรือการทอ ผลิตขึ้นมาเพื่อให้มีคุณสมบัติเหมือนกับฝ้าย   คุณสมบัติ มีความนุ่ม มันเงา สามารถระบายความร้อน และดูดความชื้นได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ก็ไม่สามารถเป็นผ้าที่ดีกว่าฝ้ายได้ ราคาค่อนข้างถูกนิยมนำมาทดแทนผ้าฝ้าย

    วิธีตรวจสอบชนิดผ้า

 สามารถนำผ้าที่ซื้อมาแล้วนำไปเทียบ ให้ถูกต้องกับลักษณะผ้า แต่ถึงอย่างไรหากต้องการตรวจสอบให้ได้100%ต้องนำชิ้นผ้าไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติการเท่านั้น    แต่อย่างไรก็ตามการสัมผัสหรือดูด้วยตาอาจไม่สามารถพิสูจน์ได้เต็มที่

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล

   รวบรวมข้อมูลเรื่องผ้า   www.shirtandbag-product.com

Visitors: 597,143